น้ำยาจระเข้ ขจัดคราบซีเมนต์น้ำยาจะทำปฏิกิริยากับคราบปูน, ยาแนว, หรือฝุ่นผงจากการก่อสร้างที่สะสมบนพื้นผิวอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดเวลาในการทำความสะอาดพื้นที่ หลังการติดตั้งกระเบื้องเหมาะกับกระเบื้องที่มีสารเคลือบหน้า หรือกระเบื้องเคลือบเงาการเตรียมพื้นผิวพื้นที่ต้องการจะขจัดคราบซีเมนต์ ยาแนว ปูนกาว นั้นต้องแห้งเต็มที่อัตราส่วนผสม
- กระเบื้องพอร์ซเลน ผสมน้ำในอัตรา 1 : 10
- กระเบื้องเซรามิก ผสมน้ำในอัตรา 1 : 15
- หากมีคราบซีเมนต์จำนวนมากสามารถใช้โดยไม่ผสมน้ำ เทน้ำยาลงบนคราบซีเมนต์เท่านั้น
การใช้งาน
- เทน้ำยาที่ผสมตามสัดส่วนลงบริเวณคราบโดยตรง
- รอ 4-5 นาที
- ใช้แปรงขัดพร้อมล้างด้วยน้ำสะอาด
- ในกรณีมีคราบจำนวนมาก ใช้แปรงทองเหลือง หรืออุปกรณ์ทำความสะอาดที่มีความแข็งขจัดคราบปูนบางส่วนออก แล้วจึงเทน้ำยาลงบนคราบโดยตรง โดยไม่ต้องผสมย้ำ
ข้อควรระวัง
- ไม่ควรใช้ กับพื้นผิวที่ไม่ทนต่อกรด
- ควรทดสอบประสิทธิภาพในพื้นที่เล็กๆ ก่อน
- สวมถุงมือ และแว่นเพื่อป้องกันตลอดเวลา
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง
- ควรระมัดระวังร่องยาแนว ร่องยาแนวอาจหลุดล่อน หากสัมผัสโดยตรงกับน้ำยาขจัดคราบซีเมนต์
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- ทางการเข้าตาล้างตาด้วยน้ำเปล่าจำนวนมากทันที และกรอกตาขึ้นลง หากใส่คอนเทคเลนส์ ควรถอดอย่างระมัดระวัง และล้างตาด้วยน้ำเปล่าต่ออย่างน้อย 20 นาที และควรปรึกษาแพทย์
- ทางการสูดดมเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปที่โล่งและอากาศถ่ายเท หากยังมีควันฟุ้งจากสารเคมี ควรสวมใส่หน้ากากในกรณีหมดสติ ควรจัดท่าทางผู้ป่วยอยู่ในท่าที่เหมาะสม คลายกระดุมเสื้อหรือเนคไทด์ ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปในสถานที่ปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเท และปรึกษาแพทย์ฉุกเฉินทันที
- ทางผิวหนังล้างสิ่งปนเปื้อนจากผิวหนังด้วยน้ำ จำนวนมาก ล้างสารที่ปนเปื้อนเสื้อผ้าด้วยน้ำ และควรสวมถุงมือ ควรล้างน้ำเป็นระยะเวลา 20 นาที ซักเสื้อผ้าและรองเท้าก่อนนำมาสวมใส่
- ทางปากล้างปาก ถอดฟันปลอมหากมี และดื่มน้ำตามในปริมาณพอสมควร และควรหยุดหากผู้ป่วยมีอาการอยากอาเจียน หากผู้ป่วยมีอาการอาเจียน ควรจัดท่าให้ศีรษะอยู่ต่ำเพื่อปกป้องไม่ให้สารพิษเข้าสู่ปอด ไม่ควรนำสิ่งต่างๆใส่ปากผู้ป่วย หากผู้ป่วยมีอาการหมดสติควรเคลื่อนย้าย ผู้ป่วยไปที่อากาศปลอดโปร่งและถ่ายเท คลายกระดุมเสื้อ และปรึกษาแพทย์ฉุกเฉินทันที
การเก็บรักษาเก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง ควรจัดเก็บให้พ้นแสงแดด สามารถจัดเก็บที่อุณหภูมิห้อง